About
Personnel
Research
Spatial database
Service
Activity
Sitemap
 


  ระบบฐานข้อมูลกษัยการของดิน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  



Large Image

ชื่อหนังสือ   :
ISBN   :
ปีพิมพ์   :
จัดทำโดย   :


รายละเอียด   :

  ระบบฐานข้อมูลกษัยการของดิน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  974-9992-46-6
  พ.ศ. 2549
  ศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ ได้เข้ามามีบทบาทในด้านการบริหารจัดการพื้นที่ค่อนข้างมาก ด้วยเหตุที่ ปัจจุบันนี้มีหลายหน่วยงานได้ใช้ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่จำนวนมาก เป็นข้อมูลพื้นฐานสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารพื้นที่ เพื่อเพิ่มผลผลิต และ/หรือแก้ไขปัญหาด้านสภาพแวดล้อม อันเป็นผลจากการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ผิดประเภทในอดีตที่ผ่านมา รวมทั้งบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีความยั่งยืนต่อไป และกอปรกับเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลได้พัฒนาให้มีสมรรถนะและมีประสิทธิภาพมากกว่าในอดีต ฐานข้อมูล หมายถึง กลุ่มข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ถูกจัดเก็บรวบรวมไว้ในรูปแบบโครงสร้างที่เหมือนกัน และจัดเก็บไว้ที่เดียวกัน กลุ่มข้อมูลเหล่านี้ได้สร้างความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน จึงทำให้การเรียกใช้งานในภายหลัง รวมทั้งการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย ก็สามารถกระทำได้ง่ายและสะดวก นอกจากนี้ยังช่วยลดความซ้ำซ้อนข้อมูลลงได้ เดิมการจัดเก็บข้อมูล มักนิยมจัดเก็บแบบแยกส่วน และรูปแบบโครงสร้างการจัดเก็บก็แตกต่างกัน การเรียกใช้งานค่อนข้างยุ่งยากและซับซ้อน ยิ่งการแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ด้วยแล้ว จำเป็นต้องใช้ข้อมูลพร้อมสนับสนุนเป็นจำนวนมาก ข้อมูลเชิงพื้นที่เป็นข้อมูลที่มีความซับซ้อนมาก เนื่องจากประกอบด้วยข้อมูลตำแหน่งและตัวข้อมูลที่สนใจ ขนาดข้อมูลเชิงพื้นที่ได้ผันแปรไปตามขนาดพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นจะต้องมีการเก็บข้อมูลไว้เป็นระบบในลักษณะของฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ ปัญหากษัยการของดินหรือการชะล้างพังทลายของดิน เป็นปัญหาหนึ่งที่เกิดจากการใช้ที่ดินผิดประเภท แนวทางการแก้ไขปัญหานี้ ก็คือว่าจะต้องรู้ก่อนว่าพื้นที่ใดมีความเสี่ยงที่จะเกิดการชะล้างพังทลายของดิน แล้วจึงกำหนดมาตรการหรือแผนการใช้ที่ดินออกมาควบคุมกับพื้นที่เสี่ยงเหล่านี้ การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายของดินส่วนใหญ่ ได้ใช้สมการสูญเสียดินสากล (Universal Soil Loss Equation : USLE) หรือแสดงในรูปสมการคณิตศาสตร์เป็น A = RKLSCP โดยที่ A = การสูญเสียดิน (ตัน/เฮกแตร์/ปี), R = ปัจจัยการชะล้างพังทลายของฝน, K = ปัจจัยความคงทนต่อการถูกชะล้างพังทลายของดิน, LS = ปัจจัยความลาดชัน และความยาวของความลาดชัน, C = ปัจจัยพืชพรรณที่ปกคลุมดิน และ P = ปัจจัยการป้องกันการพังทลายของดิน ตัวแปรที่ใช้ในสมการมีทั้งหมด 5 ตัวแปร และเป็นตัวแปรเชิงพื้นที่ทั้งหมด ฉะนั้นรูปแบบโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลจึงมีความสำคัญและจำเป็นมาก เพื่อที่จะได้นำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ประมวลผลได้รวดเร็ว หรือจำลองแสดงการเกิดปัญหาได้ง่าย สำหรับการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลที่เหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ ในการประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายของดิน

  + หลักการและเหตุผล
  + วัตถุประสงค์
  + พื้นที่ศึกษา
  + วิธีการศึกษา
  + ผลการศึกษา
  + สรุปผลการศึกษา
 
 
GECNET Home Contact us